ประโยค หมายถึง ข้อความที่มีทั้งภาคประธาน และภาคแสดง มีใจความสมบูรณ์ครบถ้วน
ประโยคแบ่งได้ 3 ชนิด คือ
1.ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีใจความเดียว มีประธานบทเดียว และกริยาเดียว เช่น
- – กล้าเล่นฟุตบอลที่สนามโรงเรียน
- – คุณแม่ไปซื้อของที่ตลาด
- – ฉันกำลังอ่านหนังสือสารคดีด้วยความสนใจ
ข้อสังเกต คำสันธานที่ใช้เชื่อมเป็นการเชื่อมระหว่างคำ
2.ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปเข้าด้วยกัน โดยใช้สันธานเเชื่อมประโยค เช่น
- – ดาทำการบ้านและดูทีวีไปด้วย
- – อาหารและยาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์
- – ฉันอยากไปเที่ยวแต่พ่ออยากอยู่บ้าน
- – เธอจะทานของคาวหรือของหวาน
ข้อสังเกต คำสันธานใช้เชื่อมประธานหรือกริยาเป็นการเชื่อมประโยค
3.ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีใจความหลักประโยคหนึ่งและอีกประโยคหนึ่งเป็นประโยคย่อย มีข้อสังเกตคือ ประโยคหลัก (มุขยประโยค) กับ ประโยคย่อย (อนุประโยค) ของประโยคความช้อนมีน้ำหนักไม่เท่ากัน
ลักษณะของประโยคความซ้อน
- เป็นประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียว 2 ประโยคไว้ด้วยกัน และใช้คำสันธานเป็นเครื่องเชื่อม
- เมื่อแยกประโยคความซ้อนออกจากกันแล้ว จะมีน้ำหนักหรือความสำคัญไม่เท่ากันโดยประโยคหนึ่งจะเป็นประโยคหลัก อีกประโยคหนึ่งจะเป็นประโยคย่อย
- ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็น
- – ประธานของประโยค
- – กรรมของประโยค
- – วิเศษณ์ขยายกริยา หรือวิเศษณ์ของประโยค
- – วิเศษณ์ขยายประธานหรือกรรม
ตัวอย่างของประโยคความซ้อน
- คุณลุงเอ็นดูหลานซึ่งเป็นกำพร้าตั้งแต่อายุ ๗ ปี
- คุณปู่ฟังเพลงไทยเดิมมันมีลีลาเนิบนาบ
- คุณตารับประทานยาที่ได้มาจากโรงพยาบาล
ประโยคความซ้อนมี 3 ประเภท ดังนี้
1.นามานุประโยค หมายถึง ประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่แทนคำนาม เช่น
- – ฉันไม่ชอบคนรับประทานอาหารมูมมาม (กรรม)
- – คนขาดมารยาทเป็นคนน่ารังเกียจ (ประธาน)
- – ฉันไม่ได้บอกเธอว่าเขาเป็นคนฉลาดมาก (กรรม)
2. คุณานุประโยค หมายถึง ประโยคความซ้อนที่มีประโยคย่อยทำหน้าที่คล้ายคำวิเศษณ์ขยายคำนามหรือขยายสรรพนาม และใช้คำสันธาน ผู้ ที่ ซึ่ง อัน ในการเชื่อม เช่น
- – ท่านที่ร้องเพลงอวยพรโปรดมารับรางวัล
- – เราหวงแหนแผ่นดินไทยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเรา
- – ครูที่ใกล้ชิดกับนักเรียนมากย่อมรู้นิสัยของนักเรียน
คำที่เชื่อมประโยคหลักกับประโยคย่อยให้เป็นประโยคความซ้อนแบบนี้ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน เรา เรียกว่า ประพันธสรรพนาม หรือสรรพนามเชื่อมประโยค
3.วิเศษณานุประโยค หมายถึง ประโยคความซ้อนที่มีประโยคหลักและประโยคย่อยและประโยคย่อยนั้น ๆ อาจทำหน้าขยายคำกริยาหรือขยายคำวิเศษณ์ก็ได้ โดยสังเกตจากคำสันธาน เมื่อ, จน, เพราะ, ราวกับ, ระหว่างที่ เป็นตัวเชื่อม เช่น
- – เพื่อน ๆ กลับไปเมื่องานเลิกแล้ว
- – นภาทำงานหนักจนป่วยไปหลายวัน
- – เธอนอนตัวสั่นเพราะกลัวเสียงปืน